top of page

สิ่งแวดล้อม

 

สภาพทางภูมิศาสตร์ของลาว

     สปป.ลาว นับเป็นประเทศที่มีความใกล้เคียงกับประเทศไทยในด้านสังคม วัฒนธรรม มากที่สุด นับเป็นประเทศที่เรียกว่าบ้านใกล้เรือนเคียง สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องใช้ล่า

ที่ตั้ง

     ทิศเหนือ ติดกับ จีน (505 กิโลเมตร)

     ทิศตะวันออก ติดกับ เวียดนาม (2,069 กิโลเมตร)

     ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ พม่า (236 กิโลเมตร)

     ทิศตะวันตก ติดกับ ไทย (1,835 กิโลเมตร)

     ทิศใต้ ติดกับ กัมพูชา (535 กิโลเมตร)

พื้นที่

     236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 0.46 เท่าของประเทศไทย) มีพื้นที่น้ำ 4,736 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ดิน 232,040 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ละติจูด 14 – 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 – 108 องศาตะวันออก พื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูง พื้นที่ส่วนที่สูงที่สุดคือ ภูเบี้ย 2,817 เมตร และพื้นที่ 6,800 ตารางกิโลเมตรเป็นน้ำ ไม่มีทางออกทะเล มีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร เป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่าง สปป. ลาว กับไทย

สภาพภูมิอากาศ

     ตั้งอยู่ในเขตร้อน มีลมมรสุม แต่ไม่มีพายุ มี 3 ฤดู คือฤดูแล้ง ฤดูฝน ฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 20.0 – 31.2 °C อุณหภูมิต่ำสุด 14.2°C อุณหภูมิสูงสุด 34.7°C

ทรัพยากรธรรมชาติ

     ทรัพยากรป่าไม้

มีป่าไม้ร้อยละ 47 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศไม้เศรษฐกิจสำคัญ เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้สน ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น ลาวจัดเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียประกอบด้วยป่าไม้ร้อยละ 47 ของพื้นที่

     ทรัพยากรแร่ธาตุ

แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว (clays) Dolomite Limestone Rock salt และ Sapphire สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของ สปป.ลาว ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีศักยภาพจะมีทรัพยากรอื่น ได้แก่ Antimony Asbestos Bismuth Cobalt Iron ore Kaolin Lead Lignite Manganese Molybdenum Potash Silica และ Tungsten แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว (clays)

 

 

 

bottom of page